เพราะเหตุใดจึงห้ามสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรใช้พืชกัญชา

เพราะเหตุใดจึงห้ามสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรใช้พืชกัญชา

ตั้งแต่กัญชาได้รับอนุญาตให้ออกจากบัญชีรายชื่อยาเสพติดรวมไปถึงกัญชงด้วย ประชาชนชาวไทยก็มีความคึกคักและอยากทดลองใช้พืชชนิดนี้กันเป็นจำนวนมาก ร้านอาหารหลายร้านเริ่มมีเมนูกัญชาออกมาเสิร์ฟให้แก่นักชิม แต่ภายใต้สิทธิเสรีภาพเหล่านี้มีข้อห้ามและข้อกำหนดอยู่เล็กน้อยที่ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปที่ปลูกพืชชนิดนี้ในครัวเรือนควรระวัง นั่นคือ ห้ามจำหน่าย หรือห้ามไม่ให้นำกัญชาให้แก่สตรีมีครรภ์ แม่ที่กำลังให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เราจึงนำข้อมูลมาให้ศึกษาพร้อมกันว่าสารตัวใดในพืชชนิดนี้ที่ส่งผลเสียต่อสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร

สตรีมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรงดการใช้พืชกัญชาเพราะอะไร

สตรีมีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรงดการใช้พืชกัญชาเพราะอะไร

การนำกัญชาหรือกัญชงไปใช้เพื่อความเหมาะสมและปลอดภัย นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ย้ำอย่างชัดเจนว่า กระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ด้วยการลดการนำเข้ามาจากต่างประเทศ และพร้อมกันนี้ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนโดยพบว่า สตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตรไม่ควรใช้พืชชนิดนี้

เพราะสาร THC หรือ CBD ที่อยู่ในกัญชาล้วนทำให้สุขภาพร่างกายของสตรีมีครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ทั้งการออกฤทธิ์ที่กระตุ้นประสาทและคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งโดยทั่วไปสตรีมีครรภ์จะมีแนวโน้มของการเป็นโรคซึมเศร้าก่อนคลอดอยู่แล้ว การใช้พืชชนิดนี้จะทำให้มีโอกาสเกิดอาการของโรคที่รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากยังไม่มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับพืชชนิดนี้กับผู้ป่วยทางจิตเวช นอกจากนี้ยังมีอาการอันไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • ทารกเสี่ยงต่ออาการวิกฤติ เมื่อทารกคลอดจากแม่ที่ใช้พืชชนิดนี้จะมีความเสี่ยงเกิดอาการ “วิกฤติทารกแรกเกิด” ซึ่งต้องส่งตัวทารกเข้ารับการรักษาในหน่วยวิกฤติทารก ซึ่งอาการนั้นไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าจะมีลักษณะอาการเช่นไร
  • เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทารกจะมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเรียกว่า “การตายปริกำเนิด” หรือในอีกกรณีคือ “การตายคลอด” หมายถึงการคลอดทารกออกมาแล้วแพทย์ไม่พบสัญญาณชีพ
  • ทารกน้ำหนักน้อย มีการศึกษาจนพบความเป็นไปได้ว่า ทารกที่คลอดจากแม่ที่ใช้พืชกัญชาจะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด และมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์
  • แม่มีโอกาสความดันสูง แม่ที่ใช้พืชชนิดนี้ขณะตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง ถึงแม้จะคลอดทารกมาแล้ว อาการนี้มีโอกาสที่จะกลายเป็นโรคประจำตัว
  • เด็กเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย ในกรณีที่ทารกที่คลอดออกมาแล้วไม่พบปัญหาตั้งแต่แรกเกิด แต่ในระยะยาวเด็กจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือด โรคที่กระทบต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมไปถึงมีโอกาสที่พัฒนาการทางสมองจะช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน

เพื่อส่งเสริมให้พืชกัญชาเป็นสมุนไพรที่แท้จริง ผู้ประกอบการควรใส่ใจผู้บริโภค

เพื่อส่งเสริมให้พืชกัญชาเป็นสมุนไพรที่แท้จริง ผู้ประกอบการควรใส่ใจผู้บริโภค

ผู้ประกอบการจำหน่ายกัญชาหรือผลิตภัณฑ์จากกัญชาควรใช้ความระมัดระวังและใส่ใจต่อผู้บริโภค เพื่อเป็นส่งเสริมให้พืชชนิดนี้เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้เยียวยาอาการต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง ด้วยการติดป้ายเตือนให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงส่วนผสมของอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนมประเภทต่าง ๆ ว่ามีส่วนผสมของพืชชนิดนี้ เพื่อให้สตรีมีครรภ์ คุณแม่ที่ให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางชนิด และผู้ป่วยจิตเวช ได้ทราบและหลีกเลี่ยงที่จะรับประทานอาหารเหล่านั้น เพื่อป้องกันผลเสียร้ายแรงที่จะตามมา

กระทรวงสาธารณสุขได้ระบุผลเสียอย่างชัดเจนต่อบุคคลกลุ่มอ่อนไหวให้หลีกเลี่ยงการใช้พืชกัญชา เพราะส่งผลเสียต่อร่างกาย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้นกัญชาจึงไม่เสรีสำหรับทุกคน และยังคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ เพราะสาร THC และ CBD นั้นส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและสมองโดยตรง